หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov พตอ พัชรวาท


(ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น [(ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ] พร้อมเอกสารแนบ ข้อ Attachment 1-3 และมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทน เป็นผู้แทนฝ่ายไทยลงนามใน (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          1. (ร่าง) บันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น [(ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ] เป็นการปรับปรุงความร่วมมือทวิภาคี Joint Crediting Mechanism (LCM) กับประเทศญี่ปุ่น (ความร่วมมือทวิภาคีฯ) ที่คณะรัฐมนตรีเคยเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2558 โดยยังคงมีสาระสำคัญเช่นเดิม คือเป็นการจัดตั้งกลไก Joint Crediting Mechanism (JCM) เพื่อส่งเสริมให้ประเทศญี่ปุ่นสนับสนุนเงินลงทุนและเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับโครงการต่างๆ (เช่น การปรับปรุงระบบการผลิต การกำจัดของเสีย การเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงาน) ที่ดำเนินการโดยภาครัฐหรือเอกชนของประเทศไทยเพื่อแลกกับการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตจากการดำเนินโครงการให้กับประเทศญี่ปุ่น [ปริมาณการถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละโครงการ เช่น อาจกำหนดให้แบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้กับฝ่ายญี่ปุ่นในสัดส่วนเดียวกับสัดส่วนเงินสนับสนุนจากฝ่ายญี่ปุ่นต่อเงินลงทุนของโครงการ (เช่น สนับสนุนเงินร้อยละ 30 เพื่อดำเนินโครงการ จะได้รับถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตร้อยละ 30 ของปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ลดลงจากการดำเนินโครงการ)1] ทั้งนี้ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด โดยรัฐบาลฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยุติ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ และแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือน2

          2. ส่วนเอกสารแนบ ข้อ Attachment 1-3 เป็นส่วนหนึ่งของ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

 

เอกสารแนบ (Attachment)

 

สาระสำคัญ

Attachment 1 คือ กฎเกณฑ์ของการดำเนินงานกลไกเครดิตร่วมภายใต้ Premium T-VER [สำหรับโครงการใหม่ที่เริ่มดำเนินการภายหลัง (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ มีผลใช้บังคับ]

 

เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการร่วม ผู้ตรวจประเมินโครงการ การพัฒนาระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะใช้คำนวณปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ การรับรองผู้ตรวจประเมินโครงการซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบความใช้ได้ของเอกสารข้อเสนอโครงการที่จะนำไปใช้ขอขึ้นทะเบียนโครงการ และทวนสอบความถูกต้องของปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมโครงการ และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ

Attachment 2 คือ กฎเกณฑ์ของ JCM สำหรับโครงการที่ดำเนินการอยู่แล้ว [สำหรับโครงการเดิมตามความร่วมมือทวิภาคีฯ ฉบับเดิม]

Attachment 3 ระเบียบวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการร่วม สำหรับกลไกเครดิตร่วม

 

เป็นการกำหนดองค์ประกอบ อำนาจหน้าที่และกฎกติกาของคณะกรรมการร่วม โดยกำหนดให้คณะกรรมการร่วมประกอบด้วย ผู้แทนจากรัฐบาลญี่ปุ่น รัฐบาลไทย และบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากแต่ละฝ่าย รวมจำนวนฝ่ายละไม่เกิน 10 คน

 

          3. ประโยชน์ที่จะได้รับ กลไกเครดิตร่วม (JCM) ซึ่งเริ่มดำเนินงานนับแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ทำให้ผู้พัฒนาโครงการในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อใช้ในการก่อสร้าง จัดซื้อ ติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำที่ทันสมัย หรือรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 2,855 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนรวม 9,084 ล้านบาท และยังทำให้เกิดการจ้างงานและการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศไทย โดยประเทศไทยต้องถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการ ร้อยละ 50 ให้กับฝ่ายญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ฝ่ายไทยจึงได้กำหนดแนวปฏิบัติสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ภายหลังการลงนามบันทึกความ ร่วมมือฯ ฉบับปรับแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศ ดังนี้

              1) คัดเลือกโครงการที่มีคุณลักษณะครบถ้วนตามข้อกำหนดของแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต3 และผู้พัฒนาโครงการต้องได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนหรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ และกำหนดให้แบ่งปันคาร์บอนเครดิตให้กับฝ่ายญี่ปุ่นในสัดส่วนเดียวกับสัดส่วนเงินสนับสนุนจากฝ่ายญี่ปุ่นต่อเงินลงทุนของโครงการ4 ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น และปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยหลังจากปรับบัญชีก๊าซเรือนกระจกแล้วมีค่าลดลง

              2) กำหนดให้ผู้พัฒนาโครงการต้องขอขึ้นทะเบียนโครงการและขอรับรองปริมาณคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากโครงการตามมาตรฐานขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) แทนการขอขึ้นทะเบียนและขอรับรองคาร์บอนเครดิตตามมาตรฐานของญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้การกำกับดูแลโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะมีการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศอื่นเป็นไปอย่างมีเอกภาพ

­­­­­­­­­­­­­_________________________________

1เป็นไปตามความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ [(รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาท วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ในการประชุม ครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566

2เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความร่วมมือทวิภาคี Joint Crediting Mechanism (JCM) กับประเทศญี่ปุ่น (ฉบับเดิม) และ (ร่าง) บันทึกความร่วมมือฯ ที่เสนอในครั้งนี้ 

3เป็นโครงการที่งทุนในด้านเทคโนโลยีที่ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินการได้เอง เช่น โครงการเกี่ยวกับการดักจับและการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) ไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำ ส่วนโครงการประเภท Solar Rooftops ที่ประเทศไทยดำเนินการได้เองจะไม่ได้รับการพิจารณา

4เช่น หากฝ่ายญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเงินลงทุนร้อยละ 30 ในการดำเนินโครงการ ให้แบ่งปันคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองร้อยละ 30 ให้กับฝ่ายญี่ปุ่น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ (รองนายกรัฐมนตรี) 18 มิถุนายน 2567

 

 

6558

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!