หมวดหมู่: การแพทย์-สธ

5608 Redcross พาร์พบแพทย์


‘โครงการเฉลิมพระเกียรติ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน’ โดยความร่วมมือ สภากาชาดไทย รพ.จุฬาฯ ภาครัฐ และเอกชน

          สภากาชาดไทย, สำนักบริหารกิจการเหล่ากาชาด โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ ร่วมกับ สำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และบริษัท จันวาณิชย์ จำกัด ผู้ร่วมพัฒนาแอปพลิเคชั่น “Check PD” ผนึกพลังดำเนิน “โครงการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำนวยการ สภากาชาดไทย เพื่อสำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน” หวังให้ผู้มีความเสี่ยงโรคพาร์กินสันได้รับการตรวจวินิจฉัยและส่งต่อในระบบสาธารณสุข เพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

          ภายในงาน เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งจัดขึ้น ณ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน อาคาร สธ. ชั้น 12 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับเกียรติจาก นายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย และผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการ เหล่ากาชาด สภากาชาดไทย, ศ.นพ.ยิ่งยศ อวิหิงสานนท์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายการแพทย์และวิจัย ผู้แทนผู้อำนวยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน และกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, นางมาริษา โชคพัชรเวสน์ ประธานชมรมผู้ป่วยพาร์กินสัน, นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย, นายธนพล กองบุญมา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และนายพันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายนวัตกรรม บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด ตลอดจนผู้มีเกียรติร่วมงานจำนวนมาก

          ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ กล่าวภายในงานว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยพาร์กินสันมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่องค์การอนามัยโลก คาดการณ์ว่า ในปี 2040 ทั่วโลกจำนวนผู้ป่วยพาร์กินสันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย จะเพิ่มเป็น 2 เท่า (จาก 6 ล้านคน 12 ล้านคน) “หากเราไม่ทำอะไรในเชิงรุก ก็จะกลายเป็นปัญหาในอนาคต ซึ่งการรักษาโรคพาร์กินสัน อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับแพทย์ทั่วไป เพราะดูแลรักษาหลายโรค ฉะนั้น สิ่งที่ช่วยได้ คือ การมุ่งเน้นค้นหาผู้ป่วยให้ได้เร็วและวินิจฉัยถูกต้อง จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อการค้นหาผู้ป่วยพาร์กินสันให้พบตั้งแต่ระยะแรก และที่น่าภูมิใจ คือ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ และยังนับเป็นครั้งแรกที่มีการคัดกรองผู้ป่วยทั่วประเทศอีกด้วย”

          ด้าน นายกฤษฎา บุญราช ผู้ช่วยเลขาธิการสภากาชาดไทย และผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย กล่าวว่า “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีภารกิจด้านการแพทย์และพยาบาล ให้บริการกับผู้ที่มีความเสี่ยงอย่างเป็นโรคพาร์กินสัน ที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ โดยศูนย์โรคพาร์กินสันฯ กับหน่วยงานของสภากาชาดในภูมิภาค ซึ่งเหล่ากาชาดมีอยู่ 76 จังหวัด กิ่งกาชาดอำเภอ มีอยู่ทั้งหมด 300 แห่ง ในการไปประสานงานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับ อสม. ใช้แอปพลิเคชัน ลงพื้นที่สำรวจผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน 

          จากนั้น ข้อมูลจะเข้ามาที่ระบบ เพื่อตรวจสอบและเข้าสู่ระบบสาธารณสุข รับการตรวจรักษาตามสิทธิ์พื้นฐานต่อไป โดยได้รับความร่วมมือจาก สปสช. และภาคเอกชน บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด สนับสนุนในการพัฒนาแอปพลิเคชัน”

          ภายในงานได้มีการเสวนาหัวข้อ “ประสบการณ์จริงของพาร์กินสัน สู่กาชาดร่วมหาทางออก” โดย ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ เสวนาเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงวัยโรคพาร์กินสัน ร่วมกับ นางมาริษา โชคพัชรเวสน์ ประธานชมรมผู้ป่วยพาร์กินสัน อันนำมาสู่การดำเนิน “โครงการเฉลิมพระเกียรติฯ สำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน” และการระดมทุนสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ โดย นางจันทร์ประภา วิชิตชลชัย รองผู้อำนวยการสำนักงานจัดหารายได้ สภากาชาดไทย เป็นผู้ให้รายละเอียด

          นางมาริษา โชคพัชรเวสน์ เล่าว่า ป่วยมา 18 ปี แต่ยังสามารถเดินได้ดี ตอนเริ่มอาการ เมื่ออายุ 30 กว่า แต่ไม่รู้ว่าเป็นภาวะโรคพาร์กินสัน กระทั่งมาตรวจเมื่ออายุ 49 ปี และรักษาต่อเนื่องมา 18 ปี ปัจจุบัน นับว่าโชคดี ที่วันนี้ ศูนย์ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ มีเครื่องมือช่วยวินิจฉัย คัดกรองได้เร็วขึ้น ก็สามารถรักษาได้เร็วขึ้น

          ในงานยังได้นำเสนอการใช้แอปพลิเคชัน “Check PD” เพื่อช่วยคัดกรองผู้มีความเสี่ยงของโรค โดยศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสัน ซึ่งแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และขณะนี้กำลังพัฒนาการนำเสนอให้เข้าใจง่าย และใช้สะดวกยิ่งขึ้น โดย บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจากนักแสดงอาวุโส เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์, นวนันท์ บำรุงพฤกษ์ ผู้ประกาศข่าว ช่อง One, ชล วจนานนท์ ผู้บรรณาธิการข่าว เทคโนโลยี สถานีข่าว TNN 16 ร่วมพูดคุย และเชิญชวนใช้แอปพลิเคชัน 

          ผศ. (พิเศษ) ดร.พญ.จิรดา ศรีเงิน กล่าวว่า แอปพลิเคชัน “Check PD” สามารถรองรับมือถือ ทั้งระบบ iOS และ Android โดยใช้คัดกรองความเสี่ยงโรคพาร์กินสัน 9 ด้าน อาทิ ทดสอบการออกเสียง, อาการสั่น, การตอบสนองของนิ้วมือ, การเดินและการทรงตัว จากการทดสอบ กับผู้ป่วย และผู้ที่มีสุขภาพดี สามารถคัดแยกผู้ป่วยพาร์กินสันได้ถึง 90% เมื่อทดสอบพบ ก็จะมีใบรายงานผล เพื่อส่งต่อผู้มีความเสี่ยงเข้าสู่ระบบการรักษาต่อไป “เป้าหมาย” คือ การคัดกรองบุคคลทั่วไปและผู้ป่วยภาวะเสี่ยงทั่วประเทศ ให้ได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อชะลอ และลดการดำเนินโรคพาร์กินสันในระยะยาว และเพื่อลดภาระของ ผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม เพื่อนำสู่สังคมสุขภาพดีที่ยั่งยืน ทำได้โดยง่าย เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “Check PD” แล้วทำการทดสอบ และรับผล และทำซ้ำทุกหนึ่งปี

          ด้าน พันธพงศ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายนวัตกรรม บริษัท จันวาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า “บริษัทได้เข้ามาร่วมสนับสนุนส่งเสริมในโครงการนี้ โดยหาวิธีนำเทคโนโลยีมาช่วย เพื่อให้การทำงานง่าย สะดวก รวดเร็ว และทำประโยชน์ให้ได้ดีที่สุด ผ่านการใช้ Text เทคโนโลยี หรือ PD Data visualization Application ไม่ว่าจะเป็นการเขียน การวาด การสั่น ซึ่งเป็นข้อมูลทางกายภาพ ให้แปลงเป็นข้อมูลดิจิทัลไลฟ์ได้อย่างไร ดูว่าจะนำข้อมูลที่เป็น physical Digital มาเปรียบเทียบได้อย่างไร โดยเราเข้ามาช่วยในเรื่องของการแปลผล วิเคราะห์ และ visualize ออกมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยศักยภาพและความพร้อมของบริษัท เรามีความยินดี และมีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่ จะเข้ามาสนับสนุน โดยมองถึงการใช้เทคโนโลยี และบุคลากรที่มีความพร้อม มาช่วยขยายผล เพื่อผลลัพธ์ที่ได้จะนำไปก่อประโยชน์ต่อประชาชน ผ่านการคัดกรอง และมีประโยชน์ต่อทางสังคมมากที่สุด”

          ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน คัดกรองความเสี่ยงโรคพาร์กินสัน “Check PD” สามารถดาวน์โหลดผ่านไลน์ ID: @thaipd ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

          โอกาสนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันฯ ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการร่วม "ค้นหาพาร์กินสัน พาผู้ป่วยพบแพทย์" สำรวจประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสัน ด้วยการร่วมบริจาคเงินสนับสนุนภายใต้แคมเปญ “พาร์พบแพทย์” เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคพาร์กินสันทั่วประเทศ ให้ได้รับการส่งต่อ เพื่อการรักษาที่รวดเร็วต่อเนื่อง และส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย ชื่อบัญชี “สภากาชาดไทย สำนักงานจัดหารายได้” ประเภทบัญชี “ออมทรัพย์” เลขที่บัญชี 045-2-62588-8 หรือสแกน QR Code e-Donation ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าโดยไม่ต้องขอรับใบเสร็จรับเงิน สอบถามรายละเอียดการบริจาคเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานจัดหารายได้ Donation HUB “รับ” เพื่อ “ให้” โทรศัพท์ 0 2256 4440-3 Line : @redcrossfund

 

 

5608

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!